|
มีปัญหาตามฎีกาจำเลยว่า คดีมีเหตุที่โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (4/2) ซึ่งบัญญัติว่า สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ไม่อาจจะอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน 3 ปี หรือไม่ พิเคราะห์แล้ว กรณีที่จะเข้าเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (4/2) นั้น นอกจากสามีภริยาต้องสมัครใจแยกกันอยู่ตลอดมาเกิน 3 ปีแล้ว ยังต้องเป็นการแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติด้วย คดีนี้แม้ข้อเท็จจริงฟังยุติได้ในเบื้องต้นว่า นับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2549 ที่โจทก์ จำเลยทำบันทึกข้อความตกลงประนีประนอมยอมความตกลงกันว่า ไม่ประสงค์ที่จะร่วมชีวิตฉันสามีภริยากันอีกต่อไปจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 เป็นเวลาเกิน 3 ปีแล้ว แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับเหตุที่โจทก์กับจำเลยไม่สามารถอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกตินั้น เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่นำสืบให้เห็นเหตุทะเลาะเบาะแว้ง อันเป็นเหตุให้ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุข ในทางกลับกันโจทก์กลับรับว่า จำเลยไม่เคยประพฤติเสียหายหรือประพฤติชั่วอันจะเป็นปฏิปักษ์ต่อการอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา ทางนำสืบของจำเลยซึ่งอ้างว่าโจทก์ติดพันผู้หญิงอื่นมีน้ำหนักให้รับฟังยิ่งกว่าพยานหลักฐานของโจทก์จึงรับฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะอยู่กินกับจำเลย และไปจากภูมิลำเนาเสียเอง ทั้งที่จำเลยยังเต็มใจที่จะเป็นคู่สมรสของโจทก์อยู่ โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ชอบด้วยเหตุใด ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังเป็นยุติตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติดังกล่าวแล้ว ย่อมเห็นได้ว่า แม้ตามบันทึกข้อความตกลงประนีประนอมยอมความ ข้อ 2 มีข้อความว่า "วันที่ 30 มิถุนายน 2549 (วันนี้) ทั้งสองฝ่ายได้มีความเห็นชอบตกลงกันว่าไม่มีความประสงค์จะอยู่ร่วมชีวิตฉันสามีภริยากันอีกต่อไป " ข้อความดังกล่าวแสดงว่า ตัวโจทก์เท่านั้นสมัครใจแยกไปฝ่ายเดียว ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่โจทก์และจำเลยไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุข จึงไม่เข้าเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (4/2) ไม่ว่ามีการแยกกันอยู่นานเท่าใดก็ตาม ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ไม่มีเหตุฟ้องหย่าจำเลย เพราะจำเลยยังสมัครใจที่จะอยู่กับโจทก์ฟังขึ้น พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ บทความที่น่าสนใจ-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่ -ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก -การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม -การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร -เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น -ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร -ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม -ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้ -การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน -เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร -การต่อเติมภายหลังปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำ -คนต่างด้าวก็สามารถครอบครองปรปักษ์ได้ -ผู้รับการให้ด่าว่าผู้ให้ ผู้ให้สามารถเพิกถอนการให้ได้ -ยกที่ดินให้แล้ว แต่มีสิทธิเก็บกินโดยไม่ได้จดทะเบียนผลเป็นอย่างไร -ฟ้องเรียกค่าขาดกำไร เป็นค่าเสียหายพฤติการณ์พิเศษ -หนังสือทวงถามส่งไปที่บ้านตามภูมิลำเนาอ้างว่าไม่ได้รับได้หรือไม่ -การยินยอมของเด็กที่ให้ล่วงละเมิดทางเพศ ยังคงเป็นความผิดฐานละเมิด -ดูหมิ่นเรียกค่าเสียหายได้เท่าไหร่ -ตั้งใจไปกู้แต่เจ้าหนี้ให้ทำสัญญาขายฝากผลเป็นอย่างไร -คำมั่นจะให้เช่าเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว -การโอนสิทธิการเช่าทำได้หรือไม่
|